เปิดทำการ จ - ศ : 08.30 - 22.00 น. ส - อา : 09.00 - 22.00 น.
eTravelWay.com logo
Add Friend Add Friend
ติดตามข่าวสารโปรโมชั่นดีดี

เพิ่มเพื่อน LINE รับข่าวสาร โปรโมชั่น
@etravelway

รับโปรโมชั่นดีดี
Add Friend
เฉพาะคอทัวร์โปรไฟไหม้
ทัวร์ถูกคุณภาพคุ้มค่า
ทัวร์หลุดจอง
เพิ่มเพื่อน LINE ทัวร์ไฟไหม้
@etravelway.fire

เฉพาะคอทัวร์โปรไฟไหม้
แชทผ่าน Facebook ติดต่อผ่าน Facebook
fb.me/etravelway

สอบถามทาง Facebook
ทัวร์อินเดีย
คลิก ดูโปรแกรมเต็ม จองทาง LINE: @etravelway ส่งให้เพื่อนทาง LINE แชร์ทาง Facebook Tweet ลง Twitter

ทัวร์อินเดีย

 รหัส : Z11625
เดินทางโดย : TG-การบินไทย
โรงแรม : 3 ดาว & 4 ดาว |  จำนวนวัน : 8 วัน 7 คืน
ตามรอยพระศาสดา ๔ สังเวชนียสถาน : พุทธคยา (สังเวชนียสถานแห่งที่ 2) - กรุงราชคฤห์ ชมซากสถูปที่พระเจ้าพิมพิสารพบพระพุทธเจ้าครั้งแรก - เขาคิชฌกฏู จุดกำเนิดของ วันมาฆบูชา - เมืองนาลันทา ชมมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกของโลก - เมืองปัตนะ ชมวัดอโศการาม สถานที่ทำสังคายนาพระไตรปิฏกครั้งที่ 3 - สวนลุมพินีวัน (สังเวชนียสถานแห่งที่ 1) สถานที่ประสูติพระศาสดา

กรุงเทพฯ(สนามบินสุวรรณภูมิ) - สนามบินคยา - บ้านนางสุชาดา - พุทธคยา - ต้นพระศรีมหาโพธิ์ - พระแท่นวัชรอาสน์ - สัตตมหาสถาน - กราบพรพุทธเมตตา - วัดไทยพุทธคยา
คยา - ราชคฤห์ - เขาคิชกูฏ - นาทันทา - มหาวิทยาลัยนาลันทา - สักการะหลวงพ่อพระองค์ดำ - ปัตนะ
ปัตถะ - เมืองไวสาลี - วัดกูฎาศาลาป่ามหาวัน - มหาเจดีย์เกสริยา - เมืองกุสินารา
เมืองกุสินารา - สักการะมหาปรินิพพานเจดีย์ - นมัสการมกุฎพันธนเจดีย์ - เมืองลุมพินี (เนปาล)
เมืองลุมพินี - สวนลุมพินีวัน - วิหารมหามายา - เสาพระเจ้าอโศก - เมืองสาวัตถี (อินเดีย)
เมืองสาวัตถี - พระเชตวันมหาวิหาร - อนาถบิณฑิกเศรษฐี - บ้านปุโรหิต - สถานที่ธรณีสูบพระเทวทัตและนางจิญจมาณวิกา - เมืองพาราณสี
เมืองพาราณสี - ล่องแม่น้ำคงคา - ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน - เมืองพุทธคยา
เมืองพุทธคยา - สนามบินคยา - กรุงเทพฯ(สนามบินสุวรรณภูมิ)
ไม่รวม ค่าทิปไกด์ทั้งถิ่น พนักงานขับรถ และหัวหน้าทัวร์คนไทย
เดินทาง :
01 พ.ย. 2567
-
08 พ.ย. 2567
฿
43,999
10 ธ.ค. 2567
-
17 ธ.ค. 2567
฿
43,999
22 ม.ค. 2568
-
29 ม.ค. 2568
฿
43,999
12 มี.ค. 2568
-
19 มี.ค. 2568
฿
43,999
Download PDF

สังเวชนียสถานอินเดีย - เนปาล8 วัน 7คืน

โดยสายการบินไทย

พักโรงแรมระดับ 3-4 ดาว

กำหนดการเดินทาง 01-08 พฤศจิกายน // 10-17 ธันวาคม 2567

22-29 มกราคม // 12-19 กุมภาพันธ์ // 12-19 มีนาคม 2568

พุทธคยา (สังเวชนียสถานแห่งที่ 2) สถานที่ตรัสรู้ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์

กรุงราชคฤห์ เมืองหลวงของแคว้นมคธในอดีต ชมซากสถูปที่พระเจ้าพิมพิสารพบพระพุทธเจ้าครั้งแรก

เขาคิชฌกฏู  จุดกำเนิดของ “วันมาฆบูชา” ที่เอหิภิกขุ 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย

เมืองนาลันทา ชมมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกของโลก ที่เคยรุ่งเรืองและยิ่งใหญ่เมื่อพันปีมาแล้ว

เมืองปัตนะ ชมวัดอโศการาม สถานที่ทำสังคายนาพระไตรปิฏกครั้งที่ 3 ที่พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างถวาย

สวนลุมพินีวัน (สังเวชนียสถานแห่งที่ 1) สถานที่ประสูติพระศาสดา แห่งพุทธศาสนา

โปรแกรมการเดินทาง

DAY1 กรุงเทพ สนามบินคยา บ้านนางสุชาดา – พุทธคยา ต้นพระศรีมหาโพธิ์ – พระแท่นวัชรอาสน์ สัตตมหาสถาน กราบพรพุทธเมตตา วัดไทยพุทธคยา

08:00น. คณะเดินทางมาพร้อมกัน ณ. สนามบินสุวรรณภูมิ อาคารโดยสารขาออกระหว่างประเทศ ประตูทางเข้า

หมายเลข 4 บริเวณลานรองรับผู้โดยสาร ชั้นที่ 4 เจ้าหน้าที่ตั้งป้ายให้การต้อนรับและอำนวยความ

สะดวกในการช่วยเช็คอิน

11:00น.ออกเดินทางสู่สนามบินคยา ประเทศอินเดียโดยสารสายการบินไทยเที่ยวบินที่ TG 327

(พร้อมน้ำหนักกระเป๋าโหลดใต้ท้องเครื่องท่านละ 1 ใบ น้ำหนักรวมสูงสุดไม่เกิน 20 กิโลกรัม และถือขึ้นเครื่องได้อีกท่านละ 1 ใบ ไม่เกิน 7 กิโลกรัม)

12:40น.เดินทางถึงสนามบินคยา ประเทศอินเดีย(เวลาที่อินเดียช้ากว่าเมืองไทย 1 ชั่วโมง 30 นาที แนะนำให้ทุกท่าน ปรับเวลาทันทีที่ไปถึงเพื่อความเข้าใจที่ตรงกันเวลานัดหมาย) หลังผ่านพิธีตรวจคนเข้าเมืองและ รับกระเป๋า สัมภาระ นำท่านเดินทางสู่เมืองพุทธคยาอันเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า พาชมวัดไทยพุทธคยา ซึ่งเป็น วัดไทยแห่งแรกในต่างแดนพระอุโบสถจำลองแบบจากวัดเบญจมบพิตรประดิษฐานพระพุทธชินราชจำลอง ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพระมหาชนกอันงดงาม และนำท่านเดินทางเข้าสู่ที่พัก.

บ่าย จากนั้นนำท่านเดินทางสู่บ้านนางสุชาดาที่ถูกสร้างไว้เป็นสถูปของศาสนาพุทธ ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านอุรุเสนานิคม (ปัจจุบัน รู้จักในนาม บากะอุระ) ทางด้าตะวันออกเล็กน้อยของพุทธคยาในรัฐพิหาร, ประเทศอินเดียตรงข้ามกับแม่น้ำเนรัญชรา โดยนางสุชาดาผู้นี้ คือ ผู้ถวายข้าวมธุปายาส เป็นข้าวผสมกับนมและธัญพืชขณะที่ทรงประทับอยู่ใต้ต้นไทร เป็นการยุติการบำเพ็ญทุกขรกิริยาตลอด 7 ปีของพระพุทธองค์ ประกอบด้วยการบำเพ็ญตบะและการอดอาหาร โดยทรง ค้นพบหลักธรรม มัชฌิมาปฏิปทา (หรือรู้จักกันในนาม ทางสายกลาง)

นำท่านสู่ พระมหาโพธิเจดีย์ พุทธคยา ซึ่งสร้างโดยพระเจ้าหุวิชกะ ในพุทธศตวรรษที่ 7 โดยมีรูปแบบผสมผสานเจดีย์ แบบพุทธตั้งอยู่เหนือปรางค์แบบฮินดู จนเกิดเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีสัญลักษณ์ที่สำคัญคือ องค์เจดีย์สี่เหลี่ยมที่สูงใหญ่ โดย สูงถึง 51 เมตร ฐานวัดโดยรอบได้ 121.29 เมตร ล้อมรอบด้วยโบราณสถานสำคัญ

จากนั้นนำทุกท่านสักการะ ต้นพระศรีมหาโพธิ์(สังเวชนียสถานแห่งที่ 2) สถานที่ตรัสรู้ซึ่งปัจจุบันเป็นต้นที่ 4 พระแท่นวัชรอาสน์ ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชสร้างถวายไว้ตรงสถานที่ที่เคยเกอดรัตนบัลลังก์เมื่อวันตรัสรู้ สัตตมหาสถาน ที่พระพุทธองค์เสวยวิมุติสุข 7 สัปดาห์ หลังตรัสรู้ กราบพระพุทธเมตตา อันศักดิ์สิทธิ์ที่ประดับฐานภายในพระมหาโพธิเจดีย์มาแต่โบราณ ชมสถานที่สำคัญ โบราณวัตถุ ล้อมรอบบริเวณอยู่มากมายนำท่านไหว้พระสวดมนต์ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์สถานที่ตรัสรู้

ค่ำ บริการอาหารค่ำ ณ ห้องอาหารของโรงแรมที่พักเข้าสู่ที่พัก DHAMMA GRAND HOTEL & RESORT

หรือระดับเดียวกัน ณ เมืองพุทธคยา


หลังอาหารค่ำนำท่านสวดมนต์ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พระมหาเจดีย์พุทธคยา จนสมควรแก่เวลานำท่านกลับเข้าสู่ที่พัก

 Day2 พุทธคยา – ราชคฤห์ – เขาคิชกูฏ – นาทันทา – มหาวิทยาลัยนาลันทา

สักการะหลวงพ่อพระองค์ดำ – ปัตนะ

เช้าบริการอาหารเช้า ณ ห้องอาหารของโรงแรมที่พัก

หลังรับประทานอาหารเช้าพาท่านเดินทางไปยัง ราชคฤห์ (ระยะ 70 กิโลเมตร เดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง) เมืองหลวงของ แคว้นมคธอันเจริญรุ่งเรืองในเมื่อสมัยพุทธกาลปกครองโดยพระเจ้าพิมพิสาร ซึ่อล้อมรอบด้วยภูเขา จนได้รับนามว่า “เบญจคีรีนคร” ซึ่งยังปรากฏกำแพงเชิงเทินล้อมรอบตามสันเขาทั้ง 5 ลูก เป็น ปราการอันเข้มแข็งคล้ายกำแพงเมืองจีนนำท่านขึ้น เขาคิชกูฏ สถานที่ซึ่งพระพุทธองค์ทรงโปรดประทับมากที่สุดในเมืองนี้ (การขึ้นเขาคิชกูฏ ซึ่งเป็นการเดินขึ้นที่สูง ลาดชันพอประมาณ ระยะทางโดยรวมประมาณ 750 เมตร ทุกท่านจะต้องเดินขึ้น รถยนต์ไม่สามารถขี้นไปถึงได้) นมัสการ “พระคันธกุฏีพระพุทธองค์” หรือ \"พระมูลคันธกุฎี\" ในพุทธประวัติ เล่าว่าสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าทุกแห่งจะมีผู้นำของหอมนานาชนิดไม่ว่าจะเป็นไม้หอม ดอกไม้หอม เป็นต้น มาบูชาพระพุทธเจ้ามิได้ขาด โดยประดับไว้ภายในที่ประทับบ้าง วางเรียงรายอยู่โดยรอบบ้างโดยมุ่งบูชาพระพุทธเจ้าด้วยกลิ่นหอมจึงปรากฏว่าหลังวัดที่ประทับจะมีดอกไม้ที่แห้งแล้วถูกนำไปทำ ไว้เป็นกองใหญ่ด้วยมีจำนวนมาก

ชมกุฏิพระอานนท์, ถ้ำสุกรขาตาท่ีพระสารีบุตรบรรลุพระอรหันต์ ชมสถานที่พระเทวทัตกลิ หินใส่พระพุทธองค์ ผ่านชม “วัดชีวกัมพวัน โรงพยาบาลสงฆ์แห่งแรกของโลก” ซึ่งชีวกโกมารภัจน์ เคยใช้เป็นที่ปฐมพยาบาลพระพุทธเจ้า เมื่อครั้งถูกพระเทวทัตลอบทำร้าย

ชม “วัดเวฬุวนาราม วัดแห่งแรกของ โลก” “วัดเวฬุวันมหาวิหาร” หรือ พระวิหารเวฬุ วัดกลันทกนิวาปสถานเป็นอาราม (วัด) แห่งแรกในพระพุทธศาสนาตั้งอยู่ใกล้เชิงเขาเวภารบรรพต บนริมฝั่งแม่น้ำสรัสวดีซึ่งมีตโปธาราม (บ่อน้ำร้อน โบราณ) คั่นอยู่ระหว่างกลาง นอกเขตกำแพงเมืองเก่าราชคฤห์ (อดีตเมืองหลวงของแคว้นมคธ) รัฐพิหาร ประเทศอินเดียในปัจจุบัน

คำว่า เวฬุวัน แปลว่า สวนไผ่ เดิมอารามแห่งนี้เป็นพระราชอุทยานของพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แคว้นมคธ ตั้งอยู่นอกเมืองราชคฤห์ เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วได้เสด็จไปยังเมืองราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยข้าราชบริพารเข้าไปเฝ้า หลังจากทรงสดับธรรมแล้วทรงเลื่อมใสจึงถวายสวนเวฬุวันเป็นพุทธบูชา ต่อมาได้ถือกันว่าสถานที่นี้เป็นวัดแห่งแรกในพระพุ ทธศาสนา เรียกว่า เวฬุวันมหาวิหาร นอกจากนี้วัดนี้ยังเป็นสถานที่พระพุทธเจ้าแสดงโอวาทปาติโมกข์แก่เอหิภิกขุจำนวน 1,250 รูป ที่มาชุมนุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย แล้วส่งไปเป็นพระธรรมทูตประกาศพระศาสนา อันเป็นที่มาของ “วันมาฆบูชา” ภายในวัดมีสระกลันฑกะ ซึ่งพระเจ้าพิมพิสารทรงขุดไว้ ตโปธาร บ่อแร่น้ำร้อน ซึ่งมีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล เป็นต้นเหตุของการมีพุทธานุญาตให้ภิกษุสรงน้ำทุก 15วัน ส่วนชาวฮินดูเชื่อว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ไหลผ่านขุมนรกชั้นโลหกุมภีร์ จึงนิยมมาอาบน้ำแร่ เพราะเชื่อว่าเมื่ออาบแล้วจะได้ บุญและสามารถรักษาโรคร้ายได้ โดยแบ่งตามระดับของชนชั้นวรรณะ

เที่ยงบริการอาหารกลางวัน ณ ห้องอาหารของโรงแรมที่พัก

บ่าย นำท่านเดินทางไปยังเมืองนาลันทา (ระยะทาง 15 กิโลเมตร เดินทางประมาณ 30 นาที)


เมืองบ้านเกิดของพระสารีบุตร อัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า นำชม “มหาวิทยาลัยนาลันทา”มหาวิทยาลัยสงฆ์ แห่งแรกของโลก” ที่เคยรุ่งเรืองและยิ่งใหญ่เมื่อพันปีมาแล้ว โดยเป็นศูนย์กลาง พุทธศาสนาในสมัยโบราณมีนักศึกษามาจากนานาประเทศรวมทั้งพระถังซัมจั๋งจากเมืองจีน

จากนั้นนำท่านสักการะ “หลวงพ่อพระองค์ดำ” พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์แกะสลักด้วยหินแกรนิตสีดำ ปาง นั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ชี้แม่พระธรณีเป็นพยาน หน้าตักกว้าง 69 ฟุต สร้างในสมัยพระเจ้าเทวปาล เมื่อ ประมาณ พ.ศ. 1353-1393 ประดิษฐานอยู่ทางด้านทิศเหนือของมหาวิทยาลัยนาลันทา ตามประวัติที่ถูกจารึกโดย ท่านตรานารถ และท่านธรรมสวามิน ได้บันทึกไว้ว่า เมื่อประมาณปี ๑๗๖๖ หลังจากกองทัพมุสลิมเข้าปกครองดินแดนชมพูทวีปฝ่ายเหนือ และแคว้นนครเกือบทั้งหมด กองทัพ มุสลิมนำโดย อิคเทีย ซิลจิ พร้อมด้วยทหารประมาณ 200 คน ได้กรีธาทัพเข้าไปในมหาวิทยาลัยนาลันทา ทำลายพระพุทธรูปและศิลปกรรมต่าง ๆ ที่ขวางหน้า ก่อนจะยกทัพกลับไปเมืองภัคทัยปูร์ ทำให้ หลวงพ่อพระองค์ดำถูกเศษอิฐและหินทับถมลงใต้แผ่นดินเป็นเวลานานเกือบ 7 ศตวรรษ

หรือ ประมาณเกือบ 700 ปี จนกระทั่งมีนักปราชญ์ด้านโบราณคดีชื่อ เซอร์ คันน่ิงแฮม ได้ศึกษาและอ่าน บันทึกลายแทงของ พระถังซัมจั๋ง เกี่ยวกับเรื่องของมหาวิทยาลัยนาลันทาและนำคณะเข้ามาสำรวจ ขุดค้น จนได้ค้นพบพระเจดีย์องค์ที่ตั้งอยู่ใจกลางมหาวิทยาลัยพอดี จากนั้นก็ได้ทำแผนที่ตามลายแทงที่มีอยู่ (คือจากหนังสือของพระถังซัมจั๋ง) เพื่อค้นหาจนปรากฏว่า ได้พบที่พิพิธภัณฑ์นาลันทา และในบรรดาพระพุทธรูปที่ขุดพบทั้งหมดมีเพียง \'หลวงพ่อองค์ดำ\' องค์เดียวเท่านั้นที่นับว่ามีความสมบูรณ์ที่สุด เพราะพระนาสิกและนิ้วพระหัตถ์ท่านที่บิ่นเล็กน้อยซากเจดีย์องค์อื่น ๆ ตัวมหาวิทยาลัย รวมทั้ง \' หลวงพ่อองค์ดำ \'และพระพุทธรูปองค์อื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งปัจจุบันเก็บรักษาไว้ จากนั้นเดินทางสู่ เมืองปัตนะ (ระยะทาง 83 กิโลเมตร เดินทางประมาณ 2.30 ชั่วโมง) ในอดีตมีชื่อเรียก เช่น ปัตนะ ปาฏลีบุตรมคธ ปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของแคว้นพิหาร ในอดีตเมืองนี้เคยเป็นสถานที่ทำ สังคายนาพระธรรมวินัย พระไตรปิฏกครั้งที่ 3 ครั้งที่สาม ที่พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างถวาย และ เผยแพร่ไปทั่วอินเดีย

ค่ำบริการอาหารกลางวัน ณ ห้องอาหารของโรงแรมที่พัก The Royal Bihar


หรือเทียบเท่า ณ เมืองปัตนะ

Day3 ปัตถะ - เมืองไวสาลี – วัดกูฎาศาลาป่ามหาวัน - มหาเจดีย์เกสริยา – เมืองกุสินารา

เช้าบริการอาหารเช้า ณ ห้องอาหารของโรงแรมที่พัก

นำทุกท่านออกเดินทางสู่ เมืองไวสาลี (ระยะทาง 35 กิโลเมตร เดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง)

อดีตเคยเป็นเมืองหลวงของแคว้นวัชชีในสมัยพุทธกาล ซึ่งพระพุทธองค์เคยมาโปรดให้ชาวเมืองรอดพ้นจากโรคห่า ที่มาของการสวดรัตนปริต นำท่านนมัสการ “ซากเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ” ซึ่งเหล่ากษัตริย์วัชชีได้รับแบ่งมาหลังถวายพระเพลิงพุทธสรีระ 1 ใน 8 ส่วน นอกจากนี้ เมืองไวสาลี ยังปรากฏสระน้ำกว้างใหญ่ที่สุดใช้ในพิธีราชาภิเษกของกษัตริย์ลิจฉวี และแนวกำแพงดินวังโบราณที่หลงเหลืออยู่

นมัสการ “วัดกูฏาศาลาป่ามหาวัน” ซึ่งปรากฏสถูปทรงโอคว่ำ และเสาหินของพระเจ้าอโศกมหาราชที่สมบูรณ์ที่สุดที่ยัง ปรากฏสิงโตหินบนยอดเสา และวัดนี้ยังเป็นที่พระพุทธองค์ประทานพุทธานุญาตบวช พระนางปชาบดีโคตรมี เป็นพระภิกษุณีรูปแรกของโลก นำทุท่านนมัสการซาก วัดวาฬุการาม สถานที่ประชุมสังคายนา พระไตรปิฎกครั้งที่ 2 ในสมัยพระเจ้ากาฬโศก

เที่ยงรับประทานอาหารกลางวัน ณ ภัตตาคารอาหารท้องถิ่น (Vaishali Restaurant หรือระดับเทียบเท่า)

จากนั้นพาท่านเดินทางไปยัง เมืองกุสินารา(ระยะทาง 260 กิโลเมตร เดินทางประมาณ 5 ชั่วโมง)

เป็นที่ตั้งของสังเวชนียสถานแห่งที่ 4 ดินแดนแหงพุทธปรินิพพาน ระหว่างทางนำท่านชม มหาเจดีย์เกสริยา ตั้งอยู่ในบริเวณหมู่บ้านเลาลิยะนันดันท์ และนันทันกาทร์ เขตจังหวัดจัมบารัน แคว้นวัชชี รัฐพิหาร ก่อนถึงเมืองกุสินาราประมาณ 120 กิโลเมตร ซึ่งถูกค้นพบเมื่อปี ค.ศ. 1998 เป็นโบราณสถานที่ถูกค้นพบ ล่าสุดในอินเดีย เชื่อว่าเป็นเจดีย์ยุคแรก ๆ ของพระพุทธศาสนา ความกว้างของฐานเจดีย์โดยรอบ กว้างกว่า 650 เมตร ความสูงที่คงเหลือประมาณ 40 เมตร อันเนื่องจากแผ่นดินไหวในปี ค.ศ. 1934 ทำให้ความสูงลดลง

ปัจจุบันมหาเจดีย์แห่งนี้กลายเป็นมหาเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย จากการสัญนิฐาน ของกองโบราณคดีอินเดีย คาดว่าที่นี่ยังสร้างไม่เสร็จดีนัก ถ้าสร้างเสร็จอาจจะมีขนาดใหญ่กว่าบุโรพุทโธได้ และที่สำคัญกองโบราณคดีฯ ได้ขุดค้นไว้เพียงครึ่งเดียวเท่านั้น เพื่อให้เห็นถึงโครงสร้างของ โบราณสถาน และ ป้องกันการพังทลายขององค์เจดีย์เอง ประวัติการก่อสร้างไม่ค้นพบว่าถูกกล่าวถึง ในพุ ทธประวัติ หรือในคัมภีร์พระไตรปิฏกเลย แต่มีปรากฏในบันทึกของพระถังซัมจั๋ง ได้กล่าวไว้ว่า สถานที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งของพระมหาเจดีย์ที่ประดิษฐานบาตรของพระพุทธเจ้า ที่ทรงประทานแก่เจ้าชาว วัชชีเมืองไวสาลี ที่ตามมาส่งเสด็จพระพุทธองค์เป็นครั้งสุดท้าย

ก่อนจะเสด็จไปยังเมืองกุสินาราเพื่อ เสด็จดับขันธปรินิพพาน เพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า คาดว่าสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในช่วงพุทธ ศตวรรษที่ 4 - 6 (143 - 57 ก่อนคริสตกาล) รูปลักษณะด้านบนของเจดีย์จะมีลักษณะคล้ายเจดีย์ชเว ดากอง และองค์พระปฐมเจดีย์ที่ประเทศไทย และมีลักษณะจะคล้ายกับมหาเจดีย์บุโรพุทโธมาก มีฐาน และซอกมุมขององค์เจดีย์สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป และยังมีแบ่งเป็นชั้นๆ ที่คล้ายคลึงกัน แต่มหาสถูปเกสริยานั้นสร้างขึ้นก่อน และมีความเป็นไปได้ว่าบุโรพุทโธจะได้รับอิทธิพลศิลปะการสร้างจากมหาเจดีย์เกสริยาก็เป็นไปได้มาก

 ค่ำ รับประทานอาหารค่ำ ณ ห้องอาหารของโรงแรมที่พัก HOTEL OM RESIDENCY


 หรือเทียบเท่า ณ. เมืองกุสินารา

Day4เมืองกุสินารา - สักการะมหาปรินิพพานเจดีย์ - นมัสการมกุฎพันธนเจดีย์ - เมืองลุมพินี (เนปาล)

เช้า บริการอาหารเช้า ณ ห้องอาหารของโรงแรมที่พัก

นำทุกท่านท่านสักการะสาลวโนทยาน มหาปรินิพพานเจดีย(สังเวชนียสถาน แห่งที่ 4) สถานที่ดับขันธปรินิพพาน ซึ่งมีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงบาตรคว่ำสูงใหญ่ มีฉัตร 3 ชั้นตอนบนสดุ เคยพังลงมาเมื่อปี 2506 ปัจจุบันได้รับการบูรณะแล้ว ด้านหน้าเป็นมหาปรินิพพานวิหาร ภายในมีพระพุทธรูปปางปรินิพพาน ฝีมือช่างชาวมถุรา สร้างด้วยหินทรายแดง อายุกว่า 1,900 ปี ที่มีความงดงามเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ บริเวณโดยรอบยังมีซากโบราณสถาน หมู่กุฏิสงฆ์สถูปเจดีย์ต่าง ๆ มากมาย แสดงถึงความ เจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนาในสมัยโบราณนับพันปี ก่อนพระพุทธศาสนาจะเสื่อมไปจากอินเดีย

จากนั้นนำท่านนมัสการ มกุฏพันธนเจดีย์ สถานที่ถวายพระเพลิงพระสรีระของพระพุทธเจ้า ซึ่งเหล่าบรรดามัลละกษัตริย์ ได้ถวายสถานที่นี้อันเคยใช้เป็นที่ประกอบพิธีสวมมงกุฎ รับตำแหน่งกษัตริย์แห่งแคว้นมัลละมาแต่โบราณ ซึ่งปัจจุบันเป็นซากเจดีย์ทรงกลมขนาดใหญ่สร้างในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ตั้งอยู่ห่างจากสาลวโนทยานประมาณ 1 กิโลเมตร

เที่ยง บริการอาหารกลางวัน ณ ภัตตาคารอาหารท้องถิ่น

(โปรดเตรียมหนังสือเดินทางไว้กับตัวเพื่อประทับตราบริเวณด่านชายแดน ออกจากประเทศอินเดีย เข้าประเทศเนปาล)

บ่าย นำท่านเดินทางสู่ เมืองลุมพินี(ระยะทาง 161 กิโลเมตร เดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง 30 นาที) ในเขตประเทศเนปาล หลังผ่านด่านเข้าสู่ประเทศเนปาล นำท่านเข้าสู่โรงแรมที่พัก

ค่ำ รับประทานอาหารค่ำ ณ ห้องอาหารของโรงแรมที่พักBodhi Redsun Hotel and Resort


หรือเทียบเท่าหรือเทียบเท่า ณ เมืองลุมพินี

Day 5 เมืองลุมพินี - สวนลุมพินีวัน - วิหารมหามายา - เสาพระเจ้าอโศก – เมืองสาวัตถี (อินเดีย)

เช้า บริการอาหารเช้า ณ ห้องอาหารของโรงแรมที่พัก

จากนั้นนำท่านสู่ สวนลุมพินีวัน(สังเวชนียสถานแห่งที่ 1) แห่งเมืองลุมพินี ประเทศเนปาล สถานที่พระนางสิริมหามายาประสูติเจ้าชายสิทธิธัตถะกุมาร เมื่อวันเพ็ญเดือน 6 ปีจอ 80 ปี ก่อนพุทธศักราช ภายในบริเวณ

ชม วิหารมหามายา ซึ่งสร้างโดยพระเจ้าอโศกมหาราช ภายในประดิษฐาน ภาพจำหลักศิลาพระนางสิริมหามายาประสูติพระกุมาร และ รอยพระบาทน้อยบนแผ่นหินตรงบริเวณที่ เชื่อว่าเป็นจุดที่ประสูติที่สันนิษฐานว่าพระเจ้าอโศกสร้างถวายเป็นพุทธบูชา ชม เสาพระเจ้าอโศก ที่มีขนาดความสูง 22 ฟุ ต 4 นิ้วและข้อความจารึกเป็นหลักฐานว่า “ณ ที่นี่คือ สถานที่ประสูติของ พระพุทธเจ้าศากยมุนี ซึ่งพระเจ้าอโศกเสด็จมาบูชาในปีที่ 20 แห่งรัชกาลของพระองค์ ในพุทธศตวรรษที่ 3” ชมสระโบกขรณีที่พระมารดาทรงสนามก่อนเวลาประสูติกาล

เที่ยง บริการอาหารกลางวัน ณ ห้องอาหารของโรงแรม

(โปรดเตรียมหนังสือเดินทางไว้กับตัวเพื่อประทับตราบริเวณด่านชายแดน ออกจากประเทศเนปาล เข้าประเทศอินเดีย)

บ่าย นำท่านข้ามแดนออกจากประเทศเนปาล สู่ประเทศอินเดีย เดินทางถึงด่านชายแดนเนปาล-อินเดีย ประทับตราหนังสือเดินทาง ผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมือง นำท่านเดินทางสู่ เมืองสาวัตถี (เดินทางประมาณ 5 ชั่วโมง)

ค่ำ บริการอาหารค่ำ ณ ห้องอาหารของโรงแรมที่พัก Hotel Platinum Shravasti

หรือเทียบเท่า ณ. เมืองสาวัตถี

Day 6 เมืองสาวัตถี – พระเชตวันมหาวิหาร – อนาถบิณฑิกเศรษฐี – บ้านปุโรหิต – สถานที่ธรณีสูบพระเทวทัตและนางจิญจมาณวิกา - เมืองพาราณสี

เช้า บริการอาหารเช้า ณ ห้องอาหารของโรงแรมที่พัก

จากนั้นนำท่านสู่เมือง สาวัตถี (Sravasti) อดีตเมืองโบราณในสมัยพุทธกาล มีความสำคัญใน ฐานะที่เป็นเมืองหลวงของแคว้นโกศล 1 ใน แคว้นมหาอำนาจใน 16 มหาชนบทในสมัยพุทธกาล และเป็นเมืองสำคัญในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า เพราะเป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าประทับ นานที่สุดถึง 25 พรรษา เป็นที่ตรัสพระสูตรมากมายและเป็นเมืองที่พระพุทธศาสนามั่นคงที่สุด เพราะมี ผู้อุปถัมภ์สำคัญ เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศล อนาถบิณฑิกเศรษฐี นางวิสาขา เป็นต้น ปัจจุบันคนอินเดีย ได้ลืมชื่อเมืองสาวัตถี (ในภาษาบาลี) หรือ ศราวัสตี (ในภาษาสันสกฤต) ไปหมดแล้ว คงเรียกแถบตำบล ที่ตั้งเมืองสาวัตถีนี้เพียงว่า สะเหถ-มะเหถ (Saheth-Maheth) ปัจจุบัน ตั้งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ของประเทศอินเดีย

นำท่านชม วัดเชตวันมหาวิหาร วัดที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวาย สร้างในบริเวณที่เดิมของเจ้าเชต ซึ่งเป็นเชื้อสายของกษัตริย์องค์หนึ่งในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ที่นี่นานถึง 19 พรรษา ภายในพระเชตวันมหาวิหาร มีซากหมู่เจดีย์และวิหาร ชมมูลคันธกุฎี สถานที่ประทับของพระพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมโปรดหมู่เทวดาและมนุษย์ ณ ที่แห่งนี้

ชมหมู่กุฏิพระอริยสาวก เนื่องจากพระพุทธองค์ประทับนานถึง 19 พรรษา จึงทำให้มีพระสาวกองค์สำคัญมาสนอง งานจำนวนมาก ทำให้โดยรอบมีหมู่กุฏิพระอรหันต์จำนวนมากเช่นกัน อาทิ พระสารีบุตร พระสีวลีเถระ พระมหากัสสปะ องคุลีมาล พระโมคคัลลานะ พระอุบาลี-ราหุล พระอานนท์ เป็นต้น วันเชตวันมหาวิหาร จึงเป็นศูนย์กลางเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่สำคัญที่สุดในครั้งพุทธกาล อานันทโพธิ ต้นไม้มงคลในเชตวัน อันเป็นต้นโพธิ์ที่พระอานนท์ดำริที่จะปลูกขึ้นเพื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้า ซึ่งพระโมคคัลลานะนำ เมล็ดจากพุทธคยาโดยทางอากาศ และท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นผู้ปลูกตามพุทธประสงค์

ชมบ้านอนาถบิณฑิกเศรษฐี อยู่ในบริเวณพระราชวังของพระเจ้าปเสนทีโกศล เลยพระวิหารเชตะวัน ไปประมาณ 3 กิโลเมตร ที่ปัจจุบันเหลือเพียงซากอิฐบ้านโบราณเรียงเป็นชั้นลดหลั่นกันไป มีบันไดขึ้นถึงยอด ตรงกลางจะแบ่งเป็นช่องคล้ายห้อง อนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นอุบาสกคนสำคัญในสมัยพุทธกาล เป็นผู้สร้างเชตวันมหาวิหารถวายพระพุทธองค์ นอกจากจะอุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสงฆ์แล้ว ยังได้สงเคราะห์คนยากไร้อนาถาอย่างมากมายเป็นประจำ จึงได้ชื่อว่า“อนาถบิณฑิกะ” ซึ่งแปลว่าผู้มี ก้อนข้าวเพื่อคนอนาถา หรือเศรษฐีขวัญใจคนจน

ชมบ้านปุโรหิต ผู้เป็นบิดาของพระองคุลีมาล อีกหนึ่งสถานที่ที่กำลังบูรณะอยู่ เป็นทางโพรงแคบๆ ที่ลอดเข้าไปด้านในทะลุจะเป็นห้องกว้างปิดทึบสี่ด้าน ด้านบนเปิดโล่งถึงยอดอาคาร นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นสถูปอนุสรณ์สำหรับองคุลีมาล สาวกที่เคยฆ่าคนถึง 999 คน และตัดนิ้วมาร้อยเป็นพวงมาลัยคล้องคอจนพบพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงถึงพระธรรมเทศนาโปรดองคุลีมาล จนเป็นพระ อรหันต์

ชมสถานที่ ธรณีสูบพระเทวทัต และ นางนางจิญจมาณวิกา โดยทั้งสองนั้นนับเป็นผู้ที่คิดร้ายต่อพระพุทธองค์ในอดีตกาล จากนั้นชม สถูปทรงแสดงยมปาฏิหารย์ เป็นเนินดินที่พระเจ้าอโศกมหาราชมาสร้างไว้ ณ สถานที่แห่งเป็น สถานที่พระพุ ทธเจ้าทรงแสดงปาฏิหาริย์ เพื่อปราบเดียรถีย์ (นอกศาสนา) ยมกปาฏิหาริย์ คือการ แสดงปาฏิหาริย์เป็นคู่ๆ มีไฟ มีน้ำ เป็นต้น หลังจากนั้นเสด็จขึ้นบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพุทธมารดา เป็นเวลา 3 เดือน ชม วัดบุพพาราม (หรือ บูรพาราม ที่แปลว่าทิศตะวันออก) เป็นวัดที่อยู่ใกล้เคียงกับวัดเชตวันตั้งอยู่ทางใต้ของนครสาวัตถี เมืองหลวงของแคว้นโกศล วัดนี้เป็นวัดที่นางวิสาขา สร้างถวายพระพุทธเจ้าด้วยเงิน 27 โกฎิ หรือ 270 ล้าน พระพุทธเจ้าได้เคยทรงมาประทับถึง 6 พรรษา และเป็นสถานที่ ต้นกำเนิดการ “ถวายผ้าอาบน้ำฝน”

เที่ยง บริการอาหารกลางวัน ณ ห้องอาหารของโรงแรม

บ่าย จากนั้นนำท่านเดินทางสู่ เมืองพาราณสี (เดินทางประมาณ 9 ชั่วโมง)

ค่ำ บริการอาหารค่ำ ณ ห้องอาหารของโรงแรมที่พัก The Fern Residency, Sarnath,Varanasi หรือเทียบเท่า ณ เมืองพาราณสี

Day 7 เมืองพาราณสี - ล่องแม่น้ำคงคา - ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน - เมืองพุทธคยา

05.00น. นำท่านล่องแม่น้ำคงคา ยามอาทิตย์อรุโณทัย เดินผ่านตัวตลาดของเมืองพาราณสี ที่คับคั่งไปด้วยผู้คน ชมวิถีชีวิตชาวเมืองพาราณสี สู่ ท่าเรือทัศวเมศ เพื่อล่องเรือชมแม่น้ำคงคา แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดู เพราะเชื่อว่าแม่น้ำสายนี้ไหลมาจากภูเขาไกรลาสบนสรวงสวรรค์ ริมฝั่งแม่น้ำเป็นสถานที่ประกอบพิธี อาระทิบูชา หรือการอาบน้ำล้างบาป ตลอดจนการเผาศพ ณ ท่ามณกรรณิการ์ ซึ่งไฟไม่เคยมอดดับมาตลอดระยะเวลา 4,000 ปี จากนั้นนำท่านเดินทางกลับสู่ที่พัก

เช้า บริการอาหารเช้า ณ ห้องอาหารของโรงแรมที่พัก

จากนั้นนำท่านเดินทางสู่ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน(สังเวชนยสถานแห่งที่ 3)(ระยะทางประมาณ 10กิโลเมตร เดินทาง30 นาที) สถานที่แสดงปฐมเทศนา หรือสถานที่พระตถาคตเจ้าทรงยังพระอนุตรธัมจักให้เป็นไป ปัจจุบันเรียก “สารนาถ” ซึ่งเมืองพาราณสีนี้อยู่ห่างจากเมืองพุทธคยา สถานที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ไป ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 200 กิโลเมตร นมัสการเขาคันธีสถูป สถานที่ที่พระพุทธองค์พบปัญจวัคคีย์ ชมธัมเมกขะสถูป สถานที่ทรงแสดงปฐมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ และเกิดพระรันตรัยขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก ธรรมราชิกสถูป ที่พระอัญญาโกณฑัญญะบรรลุอรหันต์ พระมูลคันธกุฏิ กุฏิหลังแรกที่พระพุทธองค์จำพรรษาเป็นพรรษาแรก เสาพระเจ้าอโศก ที่มีจารึก “อักษรพราหมณ์” พิพิธภัณฑ์สารนาถ ซึ่งเก็บโบราณวัตถุล้ำค่า โดยเฉพาะหัวเสาของพระเจ้าอโศกมหาราช พระพุทธรูป ปางแสดงปฐมเทศนาที่งดงาม มีอายุกว่า 1,500 ปี ธรรมราชิกสถูป ที่ซึ่งพระอัญญาโฏณฑัญญะ บรรลุพระอรหันต์ จากนั้นนำท่านเดินทางกลับสู่ที่พัก

เที่ยง บริการอาหารกลางวัน ณ ห้องอาหารของโรงแรม

บ่าย จากนั้นนำท่านเดินทางสู่ เมืองพุทธคยา(ระยะทาง 250 กิโลเมตร เดินทางประมาณ 6 ชั่วโมง)

ค่ำ บริการอาหารค่ำ ณ ห้องอาหารของโรงแรมที่พักThe Royal Residency

หรือระดับเดียวกัน ณ. เมืองพุทธคยา

Day 8 เมืองพุทธคยา - สนามบินคยา - สนามบินสุวรรณภูมิ

เช้า บริการอาหารเช้า ณ ห้องอาหารของโรงแรมที่พัก

10.30 น. ถึงเวลาอันสมควรนำท่านเดินทางสู่ สนามบินคยา เตรียมตัวเดินทางกลับกรุงเทพฯ

13.40 น. ออกเดินทางสู่ สนามบินสุวรรณภูมิ ประเทศไทย โดยสายการบินไทย เที่ยวบินที่ TG 328

18.15 น. เดินทางถึง สนามบินสุวรรณภูมิ กรุงเทพฯ โดยสวัสดิภาพ

หน้าแรก | จองโรงแรม | ตั๋วเครื่องบินในประเทศ | ตั๋วเครื่องบินต่างประเทศ | ทัวร์ไทย | ทัวร์ไฟไหม้ | เรือสำราญ | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อเรา | นโยบายความเป็นส่วนตัว
Copyright © 2003 eTravelWay.com All rights reserved โดย บริษัททัวร์ วีอาร์ เอนซี ทราเวล แอนด์ เทรด จำกัด
ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 11/11450
facebook
tel
TOP